ปรากฎการณ์ที่เกิดจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ |
|
|
|
เขียนโดย พรรณราย ศรีสกุล
|
วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2014 เวลา 13:28 น. |
โลกของเรามีสัณฐานกลม โดยมีเส้นศูนย์สูตรซึ่งเป็นสมมติแบ่งครึ่งโลกเป็นสองส่วน
คือซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ จุดเหนือสุดเรียกว่า ขั่วโลกเหนือจุดใต้สุดเรียกว่า ขั่วโลกใต้
เมื่อเราขยายขอบเขตโลกไปในอวกาศจะได้ทรงกลมสมมติครอบโลกอยู่เรียกว่า ทรงกลมฟ้า
หากเราขยายเส้นศูนย์สูตรออกไปถึงทรงกลมฟ้า เราจะได้เส้นศูนย์สูตรฟ้า และหากเชื่อมต่อ
แนวขั้วโลกเหนือชี้ไปยังทรงกลมฟ้าจะเป็นขั้วฟ้าเหนือ และเชื่อมต่อแนวขั้วโลกใต้ชี้ไปทาง
ทรงกลมฟ้าจะเป็น ขั้วฟ้าใต้ ตามลำดับ |
แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2015 เวลา 15:48 น. |
การบอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า |
|
|
|
เขียนโดย สมชาย ตรีอินทอง
|
วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม 2014 เวลา 13:33 น. |
การกำหนดตำแหน่งของสถานที่บนผิวโลกสามารถบอกได้โดยการบอกพิกัดของวัตถุค่าละติจุดและลอกจิจูดในทำนองเดียวกันการบอกตำแหนงวัตถุบนท้องฟ้าสามารถบอกได้โดยใช้มุมห่างมุมทิศและมุมเงย |
เขียนโดย พรรณนิภา เปี้ยทอง
|
วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม 2014 เวลา 13:27 น. |
บนท้องฟ้ายามค่ำคืนจะเห็นดวงดาวต่างๆมากมายรวมถึงดวงจันทร์ซึ่งเป็นบริวารของโลก โดยดวงจันทร์จะปรากฏมีขนาดใหญ่ และสว่างมากเมื่อเทียบกับดวงดาวต่างๆเนื่องจากอยู่ใกล้โลก ถ้าเราสังเกตดวงจันทร์ในแต่ละคืน จะพบว่าในเวลาเดียวกันของทุกคืนตำแหน่งของดวงจันทร์บนท้องฟ้า จะไม่อยู่ที่เดิมและส่วนสว่าง หรือรูปร่างของดวงจันทร์จะไม่เหมือนเดิม ปรากฏการณ์ที่เห็นดวงจันทร์มีเสี้ยวสว่างแตกต่างกันเรียกว่า ข้างขึ้นข้างแรมหรือ ดิถีจันทร์ |
เขียนโดย ณัฐพงศ์ เพิ่มกาวี
|
วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม 2014 เวลา 13:17 น. |
หากเฝ้าสังเกตน้ำขึ้นน้ำลงเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน จะพบว่าในวันข้างแรม 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ ระดับน้ำทะเลจะขึ้นสูงสุดเพราะแรงไทดัลจากดวงอาทิตย์เสริมแรงไทดัลจากดวงจันทร์ส่วนในวันข้างแรม 8 ค่ำ และข้างขึ้น 8 ค่ำ น้ำทะเลขึ้นต่ำสุดเพราะแรงไทดัลจากดวงจันทร์จะถูกหักล้างด้วยแรงไทดัลจากดวงอาทิตย์วันที่น้ำทะเลมีการขึ้นหรือลงสูงสุดเรียกว่าวันน้ำเกิดส่วนวันที่น้ำทะเลมีการขึ้นหรือลงน้อยเรียกวันน้ำตาย |
แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2015 เวลา 15:47 น. |