ความแตกต่างระหว่างคุณธรรม กับ จริยธรรม คุณธรรม หมายถึง คุณสมบัติภายในใจใดๆ ก็ตามที่เป็นคุณสมบัติไม่เป็นโทษ
จริยธรรม หมายถึง สิ่งควรประพฤติอันได้แก่ พฤติกรรม เป็นการกระทำทางกาย วาจา ใจ
อันดีงามที่ควรปฏิบัติ
จึงสรุปได้ว่า คุณธรรม และจริยธรรม หมายถึง คุณงามความดีของบุคคลที่กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจโดยได้ยึดถือจนเป็นความเคยชิน อันเป็นคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ดีงาม เป็น ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความถูกต้องในความประพฤติอันหมายความถึง การกระทำอย่างมีเสถียรในขอบเขตของมโนธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๒๓ : อ้างในจำนงอาศิรวัจ, ๒๕๓๐) ที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องของตนเอง ผู้อื่นและสังคม ทั้งนี้คำนี้บางทีก็ใช้คู่กันว่าคุณธรรมจริยธรรม องค์ประกอบสำคัญที่สร้างพฤติกรรมทางจริยธรรม คือการกำหนดหลักจริยธรรมในสังคม ยกย่องคุณค่าของความประพฤติและการครองตนอยู่ในครรลองของความประพฤติที่ดีงามด้วยจิตสำนึกมโนธรรมของตนเองอย่างสมบูรณ์ การพัฒนาจริยธรรม ต้องพัฒนาคุณธรรมให้เกิดขึ้นใน ตัวบุคคล ในฐานะที่เป็นส่วนประกอบของสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รู้จักควบคุมตัวเอง ขัดเกลากิเลส ลดความเห็นแก่ตัว ลด เลิก ละความโลภ โกรธ หลง เพื่อลดการมองตนเองเป็นใหญ่ สภาพของการพัฒนาคุณธรรมที่ผลิตคนดีมีคุณธรรมจุดเริ่มต้นที่การฝึกใจของตนเองให้อยู่ในกรอบของคุณงามความดี เมื่อฝึกตนดีแล้วย่อมพาตนไปสู่ชีวิตที่ดีในที่สุด ครูแชมป์สรุปได้ว่า
คุณธรรม คือ สิ่งที่อยู่ในใจเป็นนามธรรม จริยธรรม คือ สิ่งที่แสดงออกมา เป็นรูปธรรม แฟ้มสะสมผลงานครู
มาร่วมทดสอบว่า คุณเหมาะสำหรับการลงทุนแบบไหนให้เงินงอกเงย
ขอบคุณครับ
ครูแชมป์ พิริยะ :: เรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ในพิษณุโลก ::

|