::
KruChamp.com เครื่อข่ายวงการครู ในเครือ ดินแดนปัญญาชน จ้า |
สิ่งที่น่ากลัวกว่า พรบ.คอมพิวเตอร์ คือพฤติกรรมของตัว(...)เอง |
เขียนโดย ครูแชมป์ |
วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม 2016 เวลา 12:30 น. |
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสการต่อต้าน พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่ยกร่างแก้ไขกันใหม่ พ.ศ. 2559 หรือที่เรียกกันติดปากว่า พรบ.คอมพ์ โดยส่วนใหญ่ก็จะมีความกังวลในเรื่องของการถูกตรวจสอบด้วยระบบซิงเกิลเกตเวย์ ซึ่งก็มีหลายกระแสมาก ในเรื่องของความกังวลสิ่งที่จะเกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว จึงเกิดการโหมกระแสจนกระทั้งมีการพาดพิงไปถึงความล่มสลายของธุรกิจ ส่วนตัวแล้ว ครูแชมป์ได้ทำการศึกษา ฉบับ ปี 2550 มาบ้างพอสมควร เพราะจะต้องไปพูดเกี่ยวกับการกระทำผิดแบบนี้โดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจของบรรดาคุณครูและเด็กนักเรียน ต้องขอเรียนตามตรงว่า ไม่มีช่องทางไหน(ที่ปรากฏ)ในกฎหมายให้อำนาจเข้ามาตรวจสอบการใช้งานคอมพิวเตอร์ของประชาชน ประดุจมีคนยืนอยู่ข้างหลังเวลาเราใช้คอมพิวเตอร์ มือถือ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ สิ่งที่จะเขียนในวันนี้ คงไม่บังอาจไปวิเคราะห์วิจารย์ทางด้านกฎหมายเพราะไม่มีความรู้ลึกขนาดนั้น เพียงแต่อยากให้หลายๆท่านกลับมาทบทวนพฤติกรรมของตนเองที่สร้างความเสี่ยงมากกว่าการโดนกรรมการแอบดูพฤติกรรมของเราในอินเทอร์เน็ต ...หวังว่า โควต้า 8 บรรทัดคงยังไม่หมดกันก่อนนะครับ ก่อนอื่นเรามาดูกระแสที่เกิดขึ้นกันก่อน ความหวาดหวั่นบางส่วนโผล่เข้าไปในกลุ่มไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหุ้น กำลังเป็นกระแสอยู่ในเว็บบอร์ดชื่อดังอันดับ 1 ของเมืองไทย ในห้องของ "หุ้น" จริงๆแล้ว เราห้ามไม่ให้คนรู้สึกตื่นเต้น หวาดหวั่น หวาดกลัวกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ นั่นเพราะ ช่องทางการสื่อสารและการทำความเข้าใจ รวมไปถึงการเขียนอธิบายในหลักของกฎหมายให้คนอ่านทำความเข้าใจได้ง่ายๆ (ภาพอันร่างนี้ได้มาจากเพจกฎหมายครับ ขออภัยจำ url ไม่ได้ครับ ท่านใดทราบแจ้งด้วยนะครับ) หลักการใหม่ใน พรบ.คอมพิวเตอร์ 2559 (จากเพจกฎหมาย) จริงๆแล้ว สิ่งที่หน้ากลัวกว่าการที่ประโคมข่าวว่า จะมีคนแอบดูเมล์ ข้อความ มือถือ แชท ฯลฯ นั่นก็คือพฤติกรรมของตนเอง เอาอย่างนี้ครับ เราลองมาตรวจสอบตัวเราเองว่า เรามีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ไหม 1. ใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่มีแอนตี้ไวรัสที่ถูกลิขสิทธิ์ (เพราะสามารถอัพเดทและกำจัดหรือป้องกันได้) จริงๆมันมีอีกหลายพฤติกรรมนะครับ แม้กระทั้งการโหลดเกมดังๆ ที่มีการเดินหามอนสเตอร์ gotcha!!! แล้วเวลาเล่นก็ต้องเปิดพิกัดของตนเองให้เกมได้เห็น ...มันขนาดนั้นเลยเหรอ เอาอย่างนี้ ถ้าอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์เราใช้งานอยู่เครื่องนี้มีตัวตนไหม ลองค้นหา IP Address ดูครับ ส่วนมือถือ ลองกด *#06# แล้วกดโทรออกครับ มันจะระบุหมายเลขเครื่องของคุณ จริงๆแล้ว พฤติกรรมของคุณเองนั่นแหละที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง และคุณก็สมยอมให้เขาเก็บข้อมูลของคุณ เพราะทุกครั้งที่คุณเข้าเว็บหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เครื่องของคุณจะเก็บข้อมูล temp และคุ๊กกี้ไว้ บางเว็บบางแอบก็จะเก็บโทเค่นไว้ ทีนี้เขาก็จะรู้ว่า เจ้าของเครื่องนี้สนใจเรื่องราวอะไรเป็นพิเศษ มาดูตัวอย่างกันครับ อันนี้เป็นโฆษณาและเพจแนะนำใน facebook ซึ่งจะนำเสนอตาม token ที่เก็บไว้ คุณเข้าเว็บไหนบ่อย ตัวนี้ก็จะบอกคุณ (ลองกลับไปเปิดเฟซคุณสิครับ ว่ามันนำเสนอเพจที่ใกล้เคียงกับเพจที่คุณชอบเข้าเป็นประจำหรือเปล่า) เมื่อคืน ครูแชมป์ลองค้นหาคำว่านาฬิกาข้อมือ แล้วลองเปิดไปมาดูประมาณ 50 หน้า คลิกรูปนาฬิกา 10 ครั้ง ผลที่ได้คือ เมื่อครูแชมป์ลองมาเปิดเว็บที่มีช่องโฆษณาต่างๆ เช่น google adsense ก็จะปรากฎโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับนาฬิกาดังตัวอย่าง โฆษณานาฬิกาในหลายจุดในเว็บเกม จริงๆแล้ว หลักการของโฆษณาคือ มันจะปรากฎสอดคล้องกับเนื้อหา หรือ สิ่งที่เจ้าของเครื่องสนใจมากๆ ถ้าคุณผู้ชายไปใช้เครื่องของผู้หญิง คุณก็จะพบเว็บเสื้อผ้า เครื่องสำอาง แหล่งเที่ยว แหล่งช๊อปปิ้ง เป็นต้น ตัวอย่างโฆษณาในเว็บของครูแชมป์เอง เมื่อก่อนมันเคยมีโฆษณารับกำจัดปลวกอยู่ เพราะเนื้อหาหน้านี้เป็นเรื่องของแมลง ส่วนภาพล่าง เป็นภาพโฆษณาเกี่ยวนาฬิกาที่ปรากฎในเว็บนี้ซึ่งเป็นผลจากการทดลองเมื่อคืน (ลองเลื่อนขึ้นไปดูสิครับ ว่าด้านบน มันแสดงผลเกี่ยวกับที่คุณชอบอยู่หรือเปล่า) ข้างล่างนี้ เป็นเว็บ earn.kruchamp.com เป็นเครื่องราวเกี่ยวการออม การลงทุน โฆษณาที่ปรากฎก็จะเกี่ยวข้องกัน เอาเป็นว่า พฤติกรรมของคุณเองนั่นแหละที่บ่งบอกลักษณะข้อมูลของคุณ พฤติกรรมของคุณ บางคนก็เสี่ยงด้วยตนเองในหลายๆเรื่อง ส่วนในเรื่องของ พรบ. คอมพ์ นั้น ถ้าคุณไม่ได้ทำเว็บ ทำเพจ ทำสื่อต่างๆที่ผิดต่อกฎหมาย ไม่ได้โจมตีใคร ไม่ได้ล้มล้างระบอบการปกครอง ไม่ได้ใส่ร้ายป้ายสี ไม่ได้มุ่งหวังได้เงินในกระเป๋าคนอื่น ไม่เป็นอาชญากร ก็คงไม่ต้องกลัวอะไร ตามวิสัยของสุจริตชน ...ส่วนผู้ใช้กฎหมายจะใช้อำนาจอย่างสุจริตด้วยหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณ และการปลูกฝังคุณธรรมในวัยเยาว์ ก็เท่านั้นเอง |
แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม 2016 เวลา 13:33 น. |
.