Home รวมสาระวงการครู ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

Newsflash

วงการครู โดยครูแชมป์ 1

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่วงการครูนะครับ ขอเชิญพี่น้องครูไทยทุกท่าน ขอเชิญมาร่วมสร้างความก้าวหน้าให้วงการการศึกษากันครับ

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ครูแชมป์   
วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2015 เวลา 15:01 น.

ท่าน ผอ.ศิลา  รินสิริ  ผู้อำนวยการโรงเรียนจ่าการบุญ จ.พิษณุโลก ได้ส่งข้อเขียนบทความมาเผยแพร่ในเรื่องของการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ดังนี้ครับ


บทสรุป “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ทั้งวัน

8.00-8.30 กิจกรรมหน้าเสาธง

การเข้าแถวร้องเพลงชาติหน้าเสาธง Every morning ceremonial flag pole การสวดมนต์ แผ่เมตตา และฟังการอบรมบ่มเพาะความดีงาม 5 นาทีทุกวันทำการ ใช้คำพูดเชิงบวก หรือ Positive remarks,เสริมกำลังใจ encouragement,ให้ความหวัง หรือ Give Hope ในการปฏิบัติตนเป็นคนดี ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ถ้าไม่มีสนามหน้าเสาธงให้ใช้หน้าห้องเรียน..Home Room แทนกันไม่ได้ เพราะ Home Room มีไว้เพื่อชี้แนะหรือนัดหมายเป็นรายห้อง..และการอบรมในห้องประชุมสุดสัปดาห์ก็เป็นการอบรมกรณีพิเศษ เช่น การเชิญวิทยากรจากภายนอก เป็นต้น..

   การอบรมหน้าเสาธงเพียง 5 นาที นี้ “เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการโรงเรียนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงด้วยข้อแก้ตัวใดๆ” และถ้าโรงเรียนนั้น มีรองผู้อำนวยการ ก็ควรจัดตาราง การอบรมหน้าเสาธง ในเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่ของตน “ที่มีการบูรณาการเนื้อหา กับฝ่ายต่างๆแล้ว”..ผู้บริหารสถานศึกษา “ที่ละเลย และ บกพร่อง” ในกิจกรรมนี้ “ยากโรงเรียนของท่านจะประสบความสำเร็จ ในด้านวิชาการ และ Life Skill” ของนักเรียน***



นี้เป็นการประยุกต์ใช้ “จิตวิทยาการศึกษา Educational Psychology” ที่มีความสำคัญยิ่งในการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21.ที่คณะผู้บริหารสถานศึกษาควรทำความเข้าใจให้กระจ่าง

8.30-11.30 จัดให้มีการเรียนวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือ เรียนเนื้อหาสาระภาควิชาการ

มีข้อเสนอแนวทางการเรียนรู้ดังนี้..

1.คุณครูออกแบบ “การเรียน และ ออกแบบการสอน” ด้วยหลักการ Backward Design และถือหลัก Teach less..Learn more อันเป็นหัวใจการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21.

2.เป็นรูปแบบการเรียน Personal learning by doing ด้วยวิธีการ Cognitive Constructivism approach คือ การเรียนรู้ส่วนบุคคล เรียนรู้ด้วยตนเอง ใช้หนังสือเรียนเป็น “แหล่งเรียนรู้” เพื่อให้นักเรียน “สำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ..ส่วนคุณครู สร้างแรงจูงใจนำเข้าสู่บทเรียน เร้าความสนใจ และหาทางให้นักเรียน “แสดงความรู้เดิม Prior Knowledge”ออกมา คุณครูสร้างสะพานเพื่อเชื่อมความรู้ใหม่..ครูสังเกตชั้นเรียน เสริมศักยภาพการเรียนรู้ Scaffolding หากจำเป็น บันทึกไว้เพื่อวิจัยชั้นเรียนต่อไป... 

12.30-14.30
---จัดให้มีการเรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และภาคปฏิบัติ---และหรือ---จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน “ที่จัดเป็นกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”ภาคบังคับตามหลักสูตร
มีข้อเสนอแนะดังนี้

1.เป็นการเรียนแบบกลุ่ม Group learning โดยแบ่งกลุ่มการเรียนกลุ่มละ 3-5 คน เรียนแบบช่วยเหลือเกื้อกูล และมีการเรียนรู้ร่วมกัน “cooperative and Collaborative learning” การเรียนแบบนี้ สมาชิกแต่ละคนนำเสนอข้อมูลของตน มีการชี้แจงเพื่อการยอมรับ หรือปฏิเสธ มีการสอบถาม และตรวจสอบจากแหล่งวิชา จนได้ข้อสรุป แล้วนำมา “เรียบเรียงใหม่ Rewrite” เป็นเนื้อหาที่ได้จากข้อสรุปของทุกคน เรียกว่า “นวัตกรรม Innovation”..ทุกๆกลุ่ม มีหน้าที่ “นำเสนอ Presentation” คุณครู และ เพื่อนๆร่วมชั้นสามารถซักถามเพื่อความกระจ่างชัดของเนื้อหาในระหว่างการนำเสนอนั้น

2.คุณครูสรุปเนื้อหาเพื่อทุกคนจดบันทึกลงสมุด ด้วยลายมือของตนเอง

3.เวลา และเนื้อหา ที่ใช้ในการเรียนรู้สามารถยืดหยุ่นได้ “Flexibility” ตามความจำเป็นและเหมาะสม

4.ใช้เป็นช่วงเวลาของการ “ฝึกทักษะ Skill” ที่ต้องการได้ทุกขนิด
14.30-15.30 จัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”

ข้อเสนอแนะ

เป็นการเรียนรู้ด้วย “กิจกรรมอิสระ Activities to meet the needs of learners.” ซึ่งมีอยู่หลายอย่าง ที่คุณครูสามารถนำมา “ออกแบบกิจกรรม Design Activity” ซึ่งเป็นที่สนใจผู้เรียนได้ ทั้งกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น ลูกเสือกองร้อยพิเศษบริการสังคม, ชมรมพิทักษ์ผู้บริโภค, กู๊กขั้นเทพ ฯ...หรือ อาจนำกิจกรรมนันทนาการมา “ปรับใช้สร้างกิจกรรม” เช่น

***กีฬา และการละเล่น เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล ตะกร้อ แบดมินตัน หมากรุก ฯลฯ

***ศิลปหัตถกรรม เช่นงานฝีมือ งานประดิษฐ์ ตัดเย็บเสื้อผ้า งานวาดรูป  ถ่ายภาพ  VDO ฯลฯ.

***ดนตรี นาฏศิลป์  การแสดง และกิจกรรมบันเทิง เพลงพื้นบ้าน ขับรอง แต่งเพลง ฯลฯ

***กิจกรรมทางภาษา เช่นหัด “ฟัง-พูดภาษาอังกฤษ” หัดแต่ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน หัดเขียนเรื่องสัน นิยาย บทความ อภิปราย โต้วาที ฯลฯ..

***กิจกรรมทางสังคม กิจกรรมอาสาสมัคร กิจกรรมทางวัฒนธรรม..ฯลฯ เป็นต้น

การบริหารจัดการช่วงเวลา 14.30-15.30 น.กับเนื้อหาที่หลากหลาย

***ผู้อำนวยการ คณะผู้บริหารโรงเรียน และคณะครูทุกท่านร่วมมือกัน  “ระดมความคิด ช่วยเหลือเกื้อกูล และเรียนรู้ร่วมกัน Brainstorming, Cooperative and Collaborative”เพื่อให้สามารถ “บริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ Quality Management” ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ Creation of a learning society.”ที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21.”***

>>>***การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้นี้ โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ “ชุมชน สังคม และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ” เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันในการ สร้างองค์ความรู้วิชาชีพ รักษาศิลปวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่ตลอดไปได้ด้วย***<<<

ท่านที่เคารพ การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ แท้จริงแล้ว วิธีการนี้ก็คือ “กระบวนการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. The 21st Century learning process” นั่นเอง ผมขอเสนอตัวช่วยที่คุ้มค่าที่สุด คือ หนังสือ “ครูแห่งศตวรรษที่ 21. โดย สุทัศน์ เอกา”เพราะทั้ง 50 สถานการณ์ ของการจัดการเรียนรู้ในนั้น คุณครู และ ท่านผู้บริหารสถานศึกษา สามารถนำมา”ปรับใช้ได้ทันที” ครับ

สุทัศน์ เอกา.........................บอกความ

ขอบพระคุณครับ


ครูแชมป์ พิริยะ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2015 เวลา 11:45 น.