Home ครูแชมป์ขี้เล่า แผ่นดินไหว เค้าไม่ใช้ริกเตอร์แล้วเหรอ

Newsflash

KruChamp.com เครื่อข่ายวงการครู ในเครือ ดินแดนปัญญาชน จ้า

แผ่นดินไหว เค้าไม่ใช้ริกเตอร์แล้วเหรอ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ครูแชมป์   
วันศุกร์ที่ 08 พฤษภาคม 2015 เวลา 15:18 น.

จากข่าวแผ่นดินไหวที่เนปาล หลายๆสำนักข่าวเริ่มใช้คำว่า แมกนิจูด แล้ว ริกเตอร์ มันหายไปไหน?

ครูแชมป์เลยไปลองหาคำตอบมาครับ

- แมกนิจูด ไม่ได้มาแทนคำว่า ริกเตอร์ เพราะมันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ใช้แทนกันไม่ได้ แต่ใช้เสริมกันได้ (แมกนิจูด เป็นคำประกอบ ใช้หรือไม่ก็ได้)
- แมกนิจูด คือ ขนาด เมื่อก่อนใช้กับเรื่องอื่น เช่น ความสว่างของดาว แต่ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ เป็นคนแรกที่นำมาใช้กับแผ่นดินไหว
- ริกเตอร์ เป็น มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหว ตัวย่อ ML นอกจากนี้ยังมี มาตราโมเมนต์ (Mw) มาตราคลื่นผิว (MS) มาตราคลื่นตัวกลาง (mb)
- มาตราริกเตอร์ เกิดก่อนมาตราอื่น ข้อดีคือ คำนวนได้เร็วสุด แต่ใช้ได้กับความไกลจากจุดที่เกิดแผ่นดินไหวไม่เกิน 600 กิโลเมตร หรือเต็มที่ไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร เหมาะกับประเทศเล็ก เช่น ไทย ไต้หวัน, ประเทศใหญ่ๆ จะไม่ใช้ริกเตอร์


ตัวอย่างการใช้คำ....
- แผ่นดินไหว 2.5 ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหวขนาด 2.5 ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหวแมกนิจูด 2.5 ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหว 2.5 แมกนิจูด ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหว 2.5 ตามมาตราริกเตอร์ ที่แม่ฮ่องสอน (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
- แผ่นดินไหวขนาด 2.5 ตามมาตราริกเตอร์ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหวแมกนิจูด 2.5 ตามมาตราริกเตอร์ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหว 7.8 ที่เนปาล (ไม่แน่ใจว่าข่าวเป็นมาตราอะไรก็ไม่ต้องใส่มาตรา อย่าใส่ริกเตอร์เข้าไปเอง เพราะเขาอาจวัดด้วยมาตราอื่น)

ที่มา: JIMMY'S BLOG



นอกจากนี้ คุณ กล็อกซิเนีย ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องของ ขนาด และปริมาณได้อย่างน่าสนใจครับ

สับสนระหว่าง หน่วย กับ ปริมาณ แล้วค่ะ

หน่วยคือ คำรองรับต่อท้ายปริมาณค่ะ   
เช่น   บ้านมีความสูง  10 เมตร   , ส้มลูกนี้มีราคา  10 บาท ,  เวลาผ่านไป 5 วินาที

ความสูง , ราคา ,  เวลา คือ  ปริมาณ
เมตร , บาท , นาที  คือ  หน่วย

ปริมาณบางอย่าง  ไม่มีหน่วย  คือ ไม่ต้องมีคำมาต่อท้ายตัวเลข  เหมือนปริมาณอื่น
เช่น ขนาดของแผ่นดินไหว  เป็น  7.9

ความว่า  "magnitude"  เป็นภาษาอังกฤษของคำว่า  "ขนาด"  ค่ะ
แผ่นดินไหวมี magnitude  7.9   แปลเป็นไทย  ก็คือ  แผ่นดินไหวมีขนาด  7.9  

ตามมาตราริกเตอร์  คือ  คำนวณด้วยวิธีของนายริกเตอร์ค่ะ 
เพราะว่า  สมัยก่อน มีคนคิดสูตรขนาดของแผ่นดินไหวหลายคน  ก็เลยต้องบอกต่อท้ายว่า  คำนวณด้วยมาตราของริกเตอร์นะ
เพราะถ้าคำนวณด้วยมาตราอื่น  สูตรแบบอื่น  จะไม่ได้เลขเดียวกันค่ะ  เพื่อป้องกันความสับสนจึงมีการบอกว่า ใช้มาตราไหนต่อท้าย

เช่น
แผ่นดินไหวมี magnitude  7.9  ตามมาตราริกเตอร์   แปลเป็นไทย  ก็คือ  แผ่นดินไหวมีขนาด  7.9   ตามมาตราริกเตอร์
จะไม่บอกว่า ตามมาตราริกเตอร์  ก็ไม่ผิด 

คำว่า  magnitude  แปลว่า  ขนาด  เป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย
เหมือน  height  แปลว่า ความสูง   เป็นปริมาณที่มีหน่วยเป็น  เมตร
length แปลว่า ความยาว  เป็นปริมาณที่มีหน่วยเป็น  เมตร
volume แปลว่า ปริมาตร   เป็นปริมาณที่มีหน่วยเป็น  ลิตร   เป็นต้น

เช่น

บ้านหลังนี้มีความสูง   10  เมตร
แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาด  7.9
ชายคนนี้มีน้ำหนัก  60 กิโลกรัม

ที่มา http://pantip.com/topic/33573806


ขอบคุณครับ

ครูแชมป์ พิริยะ

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 06 มิถุนายน 2015 เวลา 21:43 น.