Currently browsing category

ทุนความรู้

ข้อคิดในการจัดการเงินสำหรับปี 2561

ผ่านไปแป๊บๆจะสิ้นปีแล้ว มีอะไรที่เราถึงเป้าหมายและอะไรที่ยังไม่ถึงบ้างครับ วันนี้ได้ข้อคิดดีๆจากข้อเขียนของพี่ตู่ วรวรรณ ธาราภูมิ เกี่ยวกับการจัดการเงินในปีถัดไปมาฝากกันนะครับ ข้อคิดในการจัดการเงินสำหรับปี 2561 เป็นเรื่องปกติ ที่ในทุกๆ ปลายปี จะมาให้ข้อคิดเพื่อวางแผนการเงินส่วนบุคคลและครอบครัว เพื่อ 1. ให้รู้จักวางแผนการเงิน 2. ให้ทบทวนสถานะครอบครัวและการเงินที่อาจเปลี่ยนไปในแต่ละปี และ 3. หากมีแผนการเงินแล้ว มีพอร์ตลงทุนของตนที่เหมาะสมแล้ว ก็จะเตือนให้รู้จักปรับสมดุลย์ (Rebalancing) สัดส่วนสินทรัพย์ลงทุนให้เหมาะกับเป้าหมายทางการเงินของแต่ละคน 1. จัดทำแผนรายได้ ค่าใช้จ่าย ประจำปี 2561 —————————————————— เราต้องเริ่มจากการทำบัญชีรับจ่ายของเราและครอบครัวที่อยู่ในอุปการะของเรา โดยแยกเป็นรายเดือน เพราะเมื่อรู้ที่มาของเงินได้ กับรู้ว่าเงินเราจะออกไปจ่ายทางไหนได้บ้างแล้ว เราจะเห็นฐานะทางการเงินของเราในวันนี้และในอนาคต ทำให้เริ่มพิจารณาได้ว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อให้มีเงินออมสะสมไปลงทุนทุกเดือน เราใช้จ่ายอะไรบ้าง อะไรควรลด เราจะหารายได้เพิ่มได้ไหม ทั้งนี้ อย่าลืมใส่รายการผ่อนชำระหนี้ และดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย (ถ้ามี) นอกจากนี้ก็ให้ใส่รายจ่ายขาจรที่ไม่ได้เกิดประจำเป็นรายเดือน เช่น ค่าส่วนกลางที่พักอาศัย ค่าเล่าเรียนบุตร เบี้ยประกันชีวิตและประกันภัย ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ค่าบำรุงรักษาที่อยู่อาศัยและยานพาหนะ …

ทำไมลงทุนแล้วล้มเหลว

ทำไมลงทุนแล้วล้มเหลว —————————– เคยสงสัยไหมว่าทำไมนักลงทุนที่เก่ง มีความรู้ เข้าใจในเรื่องการลงทุนเป็นอย่างดี กลับลงทุนแล้วล้มเหลว นั่นเป็นเพราะเขาไม่ได้ตัดสินใจลงทุนตามหลักการหรือข้อมูลที่เขามีอยู่ ในโลกของการลงทุน ความจริงกับทฤษฎีที่ร่ำเรียนมามันไปกันคนละทิศละทาง กล่าวคือนักลงทุนที่มีพื้นฐานความรู้ดี กลับไม่ได้ใช้เหตุและผลในการตัดสินใจลงทุน . ตัวอย่างที่ 1 : ผมไม่ผิด —————————— หลังจากรับรู้ว่าตนเองผิดพลาด นักลงทุนมักหลีกเลี่ยงความเสียใจว่าตนเองได้ลงทุนผิดไปแล้ว คือรู้ทั้งรู้ว่าพลาดแล้วแต่ไม่ขายทิ้ง เพราะไม่สามารถยอมรับได้ว่าตนเองลงทุนผิด ทั้งที่เมื่อพลาดแล้วควรดูปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นๆ ว่าควรจะถือต่อหรือไม่ จนเกิดเป็นประโยคยอดฮิตว่า ไม่ขายไม่ขาดทุน … (กอดหุ้นจนตัวตาย) . ตัวอย่างที่ 2 : ตื่นตูมกับข่าวร้าย และเพิกเฉยกับข่าวดี —————————————————————— นักลงทุนจำนวนมากมักจะตกใจจนขายหุ้นมากเกินควรเวลามีข่าวร้าย โดยลืมนึกถึงปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นๆ และเวลามีข่าวดีก็ซื้อหุ้นน้อยเกินควร เรื่องแบบนี้ส่วนหนึ่งมีผลจากสื่อต่างๆ และเนื้อข่าวที่มีอารมณ์และความคิดเห็นผสม มีการพาดหัวข่าวคึกโครมเกินจริง โดยเฉพาะเวลามีข่าวร้ายที่ถูกมองว่าขายได้มากกว่าข่าวดี ปัญหาจากความผิดพลาดเชิงพฤติกรรม แก้ไขได้โดยการสร้างวินัยการลงทุนที่มองเป้าหมายระยะยาว ให้สอดคล้องกับการวางแผนการเงิน แล้วลงทุนอย่างสม่ำเสมอ นี่จะช่วยทำให้นักลงทุนผ่านพ้นอารมณ์เหล่านี้ไปได้จนประสบผลสำเร็จในการลงทุน . ข่าวร้ายคือบ้านเรายังมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ขาดความรู้ความเข้าใจ เล็งเห็นผลเลิศแต่เรื่องลงทุนฉาบฉวยหวังกำไรเร็วๆ ในระยะสั้น …

การเก็บภาษีตราสารหนี้จากกองทุนรวม

การเก็บภาษีตราสารหนี้จากกองทุนรวม ———————————————- ในการฝากเงิน เมื่อได้รับดอกเบี้ย ผู้ฝากจะต้องเสียภาษี ซึ่งธนาคารเขาจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากดอกเบี้ยที่ลูกค้าได้รับ แล้วธนาคารก็นำเงินภาษีส่งสรรพากร เรียกว่าเมื่อใดมีรายได้ ก็ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ แต่สำหรับกองทุนรวมนั้น เมื่อกองทุนนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ / เงินฝาก เวลาได้ดอกเบี้ยก็ไม่ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และเมื่อกองทุนจ่ายเงินคืนให้ลูกค้าในแบบที่เรียกว่าลูกค้าขายคืนอัตโนมัติ (Auto-redemtion) ก็ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ตรงนี้ไม่ได้ผิดกฏหมายเลย แต่เป็นช่องโหว่ที่สรรพากรไม่ได้ตั้งใจให้เป็นเช่นนี้เลยตั้งแต่แรก และจำได้ว่ารัฐบาลตั้งแต่อดีตทุกรุ่นตั้งแต่มีอุตสาหกรรมกองทุนรวมมาจนถึงรัฐบาลชุดนี้ ก็ไม่เคยมีแนวคิดว่าจะสนับสนุนกองทุนรวมด้วยการไม่เก็บภาษีตราสารหนี้ที่กองทุนรวมลงทุนเลย เรื่องนี้ กลต.ก็เคยเตือนพวกเรามานานหลายปีแล้วว่าอุตสาหกรรมเราอาจจะไม่ได้เติบโตด้วยฝีมือหรือเปล่า และสรรพากรก็อาจมองได้ว่าเรากำลังเลี่ยงภาษี (อย่างถูกกฏหมาย) ซึ่งไม่ใช่เจตนารมย์ของรัฐบาลเลย ต่างกับการที่รัฐเต็มใจสนับสนุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF กับ LTF และกองทุนหุ้น ด้วยการผ่อนภาระทางภาษีในรูปแบบต่างๆ เมื่อธนาคารยังมีสภาพคล่องล้น หมายถึงมีเงินฝากเข้ามามากกว่าที่ปล่อยกู้ออกไป ในอดีตเมื่อยัง “ไม่มีกองทุนรวม” ธนาคารเขาก็เอาเงินที่เหลือนี้ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและอื่นๆ เพื่อให้สามารถหารายได้มาเพียงพอกับการต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝาก ซึ่งธนาคารเขาก็ต้องกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำๆ เพื่อจะได้ไม่ขาดทุนจากเงินฝากล้นแบงค์ และเมื่อใดที่เศรษฐกิจดี …

วิธีสอนเด็กเล็กให้มีเป้าหมายทางการเงิน

วิธีสอนเด็กเล็กให้มีเป้าหมายทางการเงิน ใครๆ ก็รักลูก อยากให้ลูกในทุกสิ่งที่เราให้ได้ แต่ขอให้ฉุกใจคิดสักนิดหนึ่งก่อน ว่าการให้อย่างไม่มีขอบเขต อาจทำให้ลูกไม่เห็นคุณค่าของเงิน วันนี้พี่มีวิธีง่ายๆ ในการสอนลูกเรื่องเงินทองมาฝาก สมมติว่าลูกอยากได้รถเด็กเล่น และเราเห็นว่าเป็นของเล่นที่จะสร้างพัฒนาการให้ลูกได้ แต่ถ้าเป็นรถบังคับก็น่าจะดีกว่า เราก็บอกลูกไปว่ารถเด็กเล่นธรรมดาๆ คันจิ๋วๆ ที่ต้องเอามือไถล้อก่อนจะวางบนพื้นให้มันวิ่ง ราคา 200 บาท พ่อแม่ซื้อให้ได้ แต่ต้องสะสมเงินกันก่อนสักวันละ 10 บาท ให้ลูกเก็บเงินส่วนนึง วันละ 5 บาทจากค่าขนมที่พ่อแม่ให้ อีก 5 บาท พ่อแม่จะช่วยสมทบ 20 วันก็ได้แล้ว แต่ถ้าเป็นรถบังคับราคา 1,000 บาท ลูกจะอยากได้มากกว่าไหม ถ้าอยากได้เราใช้วิธีเก็บเงินเหมือนกัน แต่ต้องรอไป 50 วันนะ จะรอให้ได้ของที่ดีกว่าไหม ซึ่งไม่ว่าลูกจะเลือกทางใด ก็โอเคทั้งนั้น ให้ลูกหัดหยอดกระปุกเก็บเงินสะสมเลยค่ะ ติดป้ายกระปุก หรือขวดโหล ว่า “รถในฝัน” ก็ได้ ติดวันที่เริ่มสะสม …

ความน่าปวดหัวของการกระจายลงทุน (Diversification)

มีหลายท่านอาจได้อ่านบทความจากหนังสือหลายเล่ม มักจะมีการพูดว่าอย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว เพราะถ้าตะกร้าหลุดมือไปไข่ในนั้นก็จะแตกหมด (อดกัน) วันนี้พี่ตู่ วรวรรณ ได้เขียนบทความที่น่าสนใจ เงินงอกเงย จึงขอนำมาเสนอให้ทุกท่านดังนี้ครับ   ความน่าปวดหัวของการกระจายลงทุน (Diversification) มันน่าดีใจที่วันนี้มีคนจำนวนมากขึ้นที่ถามว่าจะจัดพอร์ตอย่างไร จากเดิมที่ถามเพียงว่า “ปีนี้จะลงทุนอะไรดี” โดยก่อนหน้านั้นก็ชอบคาดคั้นว่า “ไม่ต้องอธิบายอะไรยืดยาวเลย เสียเวลาฟัง บอกมาว่าตัวไหน ขอ 3 ตัวก็พอ” จะเห็นได้ชัดว่าผู้ลงทุนมีพัฒนาการของตนอย่างต่อเนื่อง และน่าดีใจที่สุดที่วันนี้เริ่มมีคนถามว่า จะกระจายการลงทุนอย่างไร มึนไปหมดแล้ว เพราะมันเยอะ ในอดีตนั้นเราจะเลือกจัดพอร์ตลงทุนของตนเอง โดยมองไปที่ 4 กลุ่ม คือ 1. หุ้น 2. เงินสดกับตราสารหนี้ 3. อสังหาริมทรัพย์ และ 4. ทองคำ …. เพื่อจัดสรรสัดส่วนเงินลงทุนของเราไปใน Asset Class ทั้ง 4 ว่าแต่ละกลุ่มจะลงทุนในสัดส่วนกี่ % นี่ …

ผู้ชายซื้อหุ้นจากดาวอังคาร แต่ผู้หญิงฝากเงินบนดาวศุกร์

ผู้ชายซื้อหุ้นจากดาวอังคาร แต่ผู้หญิงฝากเงินบนดาวศุกร์ ——————————————————————– เรามักได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่าผู้ชายรักความเสี่ยง ส่วนผู้หญิงจะขี้กลัว ระมัดระวังและต้องการความปลอดภัย ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งเป็นความเห็นจากหลายๆ บุคคล มีบทความที่ถูกตีพิมพ์ในสวิสเซอร์แลนด์ ชื่อ “Men buy shares from Mars and women have a savings account on Venus” (ผู้ชายซื้อหุ้นจากดาวอังคารแต่ผู้หญิงฝากเงินบนดาวศุกร์) นี่เป็นชื่อที่ปรับแต่งมาจากหนังสือดั้งเดิมชื่อ “Men from Mars, Women from Venus” ซึ่งสะท้อนความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการลงทุนของผู้ชายและผู้หญิง และสะท้อนความขบขันที่มีต่อผู้หญิงด้วยความเข้าใจว่า “ผู้หญิงไม่มีทางมีพฤติกรรมแปลกไปจากความเป็นผู้หญิงๆ ที่สังคมเชื่อกัน” แม้แต่ คริสติน ชมิท์ด (เครดิตสวิส) ก็ยังให้ความเห็นว่า วินัยทางการเงินผันแปรตามความแตกต่างทางสังคมระหว่างชายและหญิง และมีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้ชายที่ไปสมัครงานเป็นนักวิจัยทางการเงินหรือโบรกเกอร์ เขาเชื่อว่า …“ผู้หญิงยังคงนิยมไปยังที่ที่มีผู้หญิงคนอื่นๆ ไปกัน แต่เขาก็หวังว่าความคิดเหล่านี้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป” แต่ถ้าคริสติน ชมิดท์ …

ลงทุนในอะไร แย่ที่สุด

คุณวรวรรณ  ธาราภูมิ ตั้งคำถามเล่นๆว่า การลงทุนในอะไรแย่ที่สุด มีหลายท่านได้ตอบคำถามมามากมาย บางท่านตอบว่า การลงทุนโดยไม่มีความรู้ การลงทุนในอะไรที่เสี่ยงมากเกินไป เป็นต้น พี่ตู่ วรวรรณ ได้เฉลยคำตอบดังนี้ครับ ฉลย Quiz ลงทุนในอะไร แย่ที่สุด —————————————— Cash หรือการถือครองเงินสด เป็นการลงทุนที่แย่ที่สุดค่ะ เพราะว่าการถือครองเงินสด รวมถึงการฝากเงินที่ได้อัตราดอกเบี้ยเรี่ยดิน มันเท่ากับไม่ได้รับผลตอบแทนเลย และหากนำอัตราเงินเฟ้อมาหักออก ก็อาจจะติดลบ มีอยู่ช่วงหนึ่งเมื่อหลายๆ ปีก่อน ที่เคยลดพอร์ตการลงทุนส่วนตัวของตนเองลง ด้วยการย้ายเงินลงทุนจากกองทุนหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงลงบ้าง แล้วไปถือเงินสดผ่านกองทุนตราสารหนี้ ผลตอบแทนที่ได้รับจากตราสารหนี้นั้นทำเอาแทบขาดใจตายกับผลตอบแทนที่เหมือนน้ำประปาขาดแคลนหยดติ๋งๆ ต้องทำใจว่าพักเงิน ลดความเสี่ยง สักพักไม่เกิน 1 ปี แล้วกัดฟันกรอดๆ รอให้ถึงรอบหุ้นขึ้นจึงจะย้ายกลับเข้ามาในกองทุนหุ้นอีกครั้ง ทรมานใจมาก เพราะช่วงจะย้ายเงินลงทุนกลับในกองทุนหุ้นนั้น หาจังหวะที่มั่นใจไม่ได้ ปรากฏว่าแทนที่จะรอไม่เกิน 1 ปี กลับต้องพลาดไป 2 ปี จากนั้นเป็นต้นมา เลิกหาจังหวะไปเลย หันมายึดแนวคิดจัดสรรทรัพย์สินลงทุนเป็นส่วนๆ …

ว่าด้วยเรื่องบัตรเดบิต

อย่าได้ถามตอนที่เสียประโยชน์ไปแล้ว… วันนี้ มีเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งหนึ่ง มาขอ “ทำความเข้าใจ” เกี่ยวกับการใช้บัตรชิปการ์ด แต่เนื้อหาส่วนใหญ่คือการชักชวนให้เปลี่ยนเป็นบัตร เดบิต แบบมีวงเงินประกันอุบัติเหตุ (แต่ตอนที่บอกเขาใช้คำพูดว่า ประกันชีวิต) และนำเสนอแบบที่มีค่าธรรมเนียมรายปีแพงที่สุด แต่ได้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือที่หลายท่านมองว่าคุ้มค่า ต้องยอมรับว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยฉลาดในเรื่องของการเงิน จึงมีคำถามกับเจ้าหน้าที่ไปว่า 1. บัตรที่นำเสนอ เป็นบัตรเดบิต ไม่ใช่บัตรเอทีเอ็มใช่หรือไม่ 2. บัตรเอทีเอ็มแบบชิปการ์ด มีหรือไม่ คำตอบที่ได้คือ… 1. เป็นบัตร”เอทีเอ็มเดบิต”ค่ะ ผมสงสัยว่า ทำไมเขาไม่บอกว่า เป็นบัตรเดบิตที่สามารถกดเงินที่ตู้เอทีเอ็มได้ 2. ตอนนี้ ยังไม่มีค่ะ แสดงว่า ในอนาคตอาจจะมีใช่ไหม เขาตอบว่า ยังไม่ทราบค่ะ เพราะแบงก์ชาติอาจมีการเปลี่ยนแปลง … ทำไมเขาไม่บอกว่า การที่ให้ใช้บัตรเดบิต เพราะรัฐต้องการเป็น e-citizen ต้องการตรวจสอบเส้นทางการเงิน เผื่อใครจะไปฟอกเงินที่วั……… เอิ่มมม นอกเรื่อง และต้นทุนในการผลิตเหรียญและธนบัตรสูงขึ้น บอกแบบนี้สิ คนเขาจะได้เข้าใจ นี่บอกแต่ว่า เค้าให้ใช้แบบนี้ …

จนแน่ๆ ถ้าไม่วางแผนการเงิน

ข้อมูลสถิติ (จาก ธปท หรือไม่ ไม่แน่ใจ เพื่อนบอกว่าใช่) ——————————————————————- 1. คนทั่วไปเป็นอย่างไร เมื่อวัยเกษียณ ———————————————- 1%. = ร่ำรวย เป็นเศรษฐี 4%. = มีเงินใช้สุขสบาย 7%. = พอช่วยเหลือตัวเองได้ 40%. = ต้องพึ่งพาลูกหลาน สถานสงเคราะห์ 48%. = ยังคงต้องดิ้นรน ทำงานหนัก สรุป สำเร็จแค่ 5%. ล้มเหลว. 95% . 2. ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ——————————— ค่าอาหาร / 1 คน (คำนวนที่ 30 ปี) 1 วัน ทาน 3 มื้อ …