Currently browsing category

ทุนความรู้

DCA ในกองทุนรวมแต่ติดลบควรทำอย่างไร

หากลงทุนแล้วติดลบเป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะพวกกองต่างประเทศหรือพวกธีมเทคโนโลยีเพราะกองพวกนี้ผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว แต่การติดลบแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน สิ่งสำคัญที่จะทำให้การติดลบน้อยลงคือระยะเวลาในการลงทุน หากกองทุนที่ DCA วิเคราะห์แล้วยังมองว่าสามารถไปต่อได้ เช่น กองนั้นลงทุนในหุ้นหรือตราสารอะไร ยังสามารถไปต่อได้หรือไม่ การ DCA จะกลายเป็นการถัวเฉลี่ยการลงทุน ทั้งนี้การขาดทุนติดแดงขึ้นอยู่กับเวลาที่เราเข้าด้วย เหมือนกับ กบข. ที่น้องๆที่บรรจุก่อนปี 63 จะมีผลตอบแทนมากกว่าลุงๆที่เข้า กบข. มาก่อนหน้า ดังนั้นลุงๆต้องศึกษาการลงทุน ปรับเปลี่ยนแผน และอาจต้องใช้เครื่องมืออื่นๆเพิ่มเติมจาก กบข.ควบคู่กันไป ครุแชมป์เคยอ่านความคิดของนักลงทุนแบบ DCA ท่าหนึ่งบอกว่า หากวันไหนกองเราเขียวเราถือว่าเราได้กำไร แต่ถ้าวันไหนกองเราแดงให้เราถือว่าซื้อของถูกแล้วเรากลับไปโฟกัสเป้าหมายในวันแรกที่เราจะเริ่มลงทุนกองทุนนี้ DCA ไม่ใช่เครื่องมือที่ดีที่สุด แต่เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เรามีวินัยในการลงทุน สิ่งสำคัญคือต้องมีการวิเคราะห์แนวโน้มธีมเศรษฐกิจนั้นๆว่าจะยังไปต่อได้หรือไม่ สรุปแล้ว เงินทุน + เวลา + ความรู้ + วินัย = ความสำเร็จ  

คุณตู่แนะ การลงทุนของผู้มีเงินออมในปี 2564

การลงทุนของผู้มีเงินออมในปี 2564 ——————————————— จบสิ้นปี 2563 ไปอย่างงงๆ  คือจะดีก็ไม่ใช่ จะร้ายก็ไม่เชิง เพราะเมื่อบรรยากาศลงทุนเริ่มสดใส  แต่พอเข้าใกล้ปลายปีตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค.แม้ตลาดหุ้นจะยังดูดีมีความหวัง เจ้าโควิทก็กลับมาคุกคามการใช้ชีวิตของเราอีกครั้ง  จนทำให้เทศกาลฉลองคริสมาสและส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่พลันจอดสนิทเพราะพิษหงสากับนักพนัน ทำให้คาดว่าตลอดเดือนมกราคมนี้การป้องกันตนเองในลักษณะ Work from Home ต้องกลับมาอีกครั้ง และน่าจะคงอยู่ไปตลอดเดือน ม.ค. เป็นแน่ ส่วนจะหยุดเชื้อเพื่อชาติหรือไม่นั้น อย่างน้อยขอให้ทุกท่านคิดใกล้ๆ ไว้ก่อนว่าเราต้องหยุดการแพร่เชื้อ/รับเชื้อ เพื่อตัวเราเองและคนใกล้ชิด ไม่ต้องไปคิดให้มันยิ่งใหญ่ ข้อดีของการไม่ได้ฉลองปีใหม่นอกบ้านคือการมีเวลาให้ตนเองและครอบครัวมากขึ้น และหวังว่าพวกเราคงจะใช้เวลาไปกับอย่างน้อย 3 เรื่อง คือ 1. การให้ความรักความอบอุ่นกับคนในครอบครัว 2. การสะสางสมบัติบ้าในบ้านเรา เพื่อหาพื้นที่ว่าง และนำไปบริจาคให้คนอื่น 3. การทบทวนผลการลงทุนและแผนลงทุนในปี 2564 ในที่นี้จะขอสรุปถึงข้อ 3 อย่างสั้นๆ ดังนี้ 1. เทรนด์การลงทุนในอนาคตคือ สุขภาพ เทคโนโลยีใหม่ที่คนจะนิยม กระแสการลงทุนเพื่อความยั่งยืนโดยเฉพาะเรื่อง ESG  …

เศรษฐีเขามีอะไรที่เหมือนกัน

ใครอยากรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะเป็นเศรษฐี อ่านเลย เศรษฐีเขามีอะไรที่เหมือนกัน ———————————- 1. มหาเศรษฐีทั่วโลก เขามีนิสัยที่เหมือนๆ กันไหม มีหลายอย่างเลยที่เหมือนกัน แต่มีอย่างหนึ่งที่เป็นนิสัยร่วมกันทุกคน รวมทั้ง Andrew Carnegie, Henry Ford, และ Charles Schwab 2. นิสัยนั้นคืออะไร ความมุ่งมั่นและการตัดสินใจได้รวดเร็ว เรื่องนี้มีบทบาทสำคัญต่อการสะสมความมั่งคั่งมาก ตรงกันข้ามกับการผลัดวันประกันพรุ่ง จากการศึกษามหาเศรษฐีระดับโลก 500 คน Napoleon Hill พบว่า พวกเขาต่างมีคุณลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งคือ ความมุ่งมั่นและการตัดสินใจได้รวดเร็ว แต่หากจะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจนั้นพวกเขาจะใช้เวลานานมาก ในขณะที่คนไม่เคยรวยจะตัดสินใจได้ช้าแต่เปลี่ยนใจได้อย่างรวดเร็วและบ่อยครั้งด้วย 3. เราจะเป็นคนตัดสินใจได้เร็วและมุ่งมั่นในการกระทำนั้นๆ ได้อย่างไร Napoleon Hill แนะนำว่า ในการฝึกฝนตนเองให้มีความมุ่งมั่นและตัดสินใจได้รวดเร็วนั้น ให้เริ่มต้นด้วยการฟังให้เป็นเสียก่อน โดยเปิดหู เปิดตา แต่ปิดปาก เพราะถ้าเราพูดมากเราก็ทำน้อย หากเราพูดมากกว่าฟัง นอกจากเราจะพลาดที่จะได้สะสมข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์แล้ว เรายังไปเปิดเผยแผนและแนวคิดของเราไปให้คนอื่นนำไปเป็นโอกาสที่ทำให้ได้เปรียบกว่าอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ การกระทำจึงสำคัญกว่าคำพูดเสมอ …

STAYING INVESTED THROUGH ALL MARKET CYCLES

STAYING INVESTED THROUGH ALL MARKET CYCLES —————————————————————————– (เรื่องที่ Selling Agents และ ผู้แนะนำการลงทุน ควรอ่าน) ในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนระยะยาวตามเป้าหมายทางการเงินนั้น เราต้องรู้ว่าเศรษฐกิจมีวงจรของมัน ไม่มีอะไรดีไปชั่วนิรันดร์ แต่ก็ไม่มีอะไรแย่ตลอดกาล Stay invested through all market cycles หมายถึง เราต้องลงทุนไปตลอดในทุกช่วงวงจรเศรษฐกิจและการลงทุน โดยแสวงหาการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเราในแต่ละวงจร แต่การจะจัดการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหนในสัดส่วนไหร่นั้น เราต้องดูเป้าหมายทางการเงินกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของเราเป็นหลักด้วย คือเรื่องอย่างนี้มันเป็นเรื่องของใครของมันโดยแท้จริง … คนอายุเท่ากัน รายได้เท่ากัน ภาระทางการเงินเท่ากัน ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องจัดพอร์ตให้เหมือนกัน เพราะ 2 ตัวแปรสำคัญก็คือการยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนกับเป้าหมายทางการเงินของคนๆ นั้นโดยเฉพาะ อย่าหยุดลงทุน อย่าออกจากตลาด เพราะมันจะทำให้เป้าหมายทางการเงินของเราไม่บรรลุ แต่เราเลือกจัดสัดส่วนลงทุนให้เหมาะสมได้ พี่เคี้ยว พีรพงศ์ CEO ของกองทุนบัวหลวง พูดในงานสัมมนา Bualuang Fund Investment …

ผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุนในหุ้น

ที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกเป็นขาขึ้นมายาวนาน ทำให้ผลตอบแทนระยะยาวในอดีตที่นำมาใช้อ้างอิงการลงทุนในหุ้นจะค่อนข้างสูง แผนการเงินที่เตรียมไว้โดยใช้ผลตอบแทนคาดหวังนั้นจึงดูว่าบรรลุเป้าหมายได้ไม่ยากนัก (มักกำหนดผลตอบแทนในหุ้นไว้ 10%-12% ต่อปีโดยเฉลี่ย) ในปัจจุบัน ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนมากขึ้น ไม่แน่นอนมากขึ้น แผนการลงทุนของเราจึงควรลดอัตราผลตอบแทนคาดหวังจากหุ้นลงบ้าง และขยายระยะเวลาการลงทุน กับเพิ่มจำนวนเงินลงทุนแต่ละครั้งให้มากขึ้น เพื่อให้แผนการเงินยังคงสามารถบรรลุเป้าหมายเดิมได้ในทางปฏิบัติ แต่จะลดเหลือสักเท่าไหร่นั้น ให้ไตร่ตรองและคาดเดากันเอาเอง อย่างของพี่ พี่ให้ผลตอบแทนคาดหวังในหุ้นเมื่อมองจากตรงนี้ไปข้างหน้าสัก 3-4 ปี เป็น 7%-8% ต่อปีโดยเฉลี่ย (บางปีอาจติดลบ บางปีอาจบวกมากกว่านั้น) จะถูก จะผิด ไม่ทราบ ไม่ได้ใช้ทฤษฎี แต่เป็นการคาดเดาจากประสบการณ์ ไม่ได้โลภมาก ไม่ได้มักน้อย และไม่ได้ใช้ดวงดาวมาทำนาย ไม่จำเป็นต้องยึดถือเป็นแบบอย่าง ที่เอามาลงในนี้ก็เพื่อให้เข้าใจว่า เมื่อปัจจัยสำคัญเปลี่ยน เราก็ต้องปรับปรุงแผนการเงินด้วย ไม่ใช่แช่แข็งไปตลาดกาล ขอบพระคุณข้อมูลจากพี่ตู่ วรวรรณ ธาราภูมิ

การมองไปข้างหน้า สำคัญมากสำหรับการลงทุนในหุ้น

การมองไปข้างหน้า สำคัญมากสำหรับการลงทุนในหุ้น —————————————————————- ปัจจุบันมีเครื่องมือประมวลผลต่างๆ ที่ช่วยให้วิเคราะห์หุ้นได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น มีตัวช่วยในการวิเคราะห์ราคาซื้อขายที่เหมาะสม โดยอ้างอิงข้อมูลจากงบการเงิน ราคาในอดีต รวมถึงการวิเคราะห์และคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ต่างๆ ทำให้ตัดสินใจซื้อขายง่ายขึ้น เร็วขึ้น แต่สิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการคัดเลือกหุ้น หรือกองทุน นั่นคือการมองไปข้างหน้า มองอนาคตของกิจการว่าจะเดินไปทางใด เป็นสิ่งที่เครื่องมือและเทคโนโลยียังไม่สามารถทำได้ มันเป็นเรื่องดีที่มีการใช้ข้อมูลในอดีต งบการเงิน และสถิติต่างๆ เป็นตัวช่วยอ้างอิงความสำเร็จในอดีตที่ยังมีอิทธิพลต่ออนาคตของหุ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าอดีตจะเกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต … กิจการที่แข้มแข็งในอดีต ไม่ได้แปลว่าจะดีไปได้ตลอดในอนาคต ในยุคที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมองให้ออกว่าปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น อะไรคือการเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน อะไรคือความฉาบฉวย จากนั้นค่อยแสวงหาธุรกิจที่ได้ประโยชน์หรือรู้จักใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น แล้วเข้าไปลงทุนเพื่อหวังการเติบโตในอนาคต ว่าไปแล้ว คำว่ายั่งยืน มันไม่มีจริง เราจึงต้องตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง เราจึงต้องหากิจการที่จะอยู่รอดและมีผลกำไรที่ดีในอนาคต รู้จักปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก ตามทันเทคโนโลยี และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคเป็นสำคัญ แต่น่าเพลียใจเหลือเกิน ที่คนมักจะลงทุนในหุ้นโดยไม่ได้ดูสิ่งเหล่านี้ . เสกสรร โตวิวัฒน์ บลจ.บัวหลวง จำกัด 19 กรกฎคม 2561

ซื้อกองทุนตอนไหนดี ก่อนหรือหลัง IPO

ควรจะซื้อกองทุนที่ IPO 10 บาท หรือรอซื้อในวันที่ราคาต่ำกว่า IPO ——————————————————————————— การซื้อกองทุนช่วง IPO ที่ราคา 10 บาทต่อหน่วยคือการเริ่มต้นลงทุนกับกองทุนนั้นๆ ตั้งแต่วันแรก และเมื่อมีการคำนวณราคา NAV แต่ละวัน ราคา NAV ก็จะเคลื่อนไหว “ขึ้น/ลง/เสมอตัว” ตามราคาปิดตอนเย็นในตลาดฯ ของหุ้นที่กองทุนลงทุน ถ้าคาดหวังว่าจะซื้อที่ราคา 10 บาท แล้วราคาจะต้องไม่ลดลงเลย เท่ากับคิดเพ้อฝันไปว่าวันที่เริ่มต้นลงทุนคือวันที่ราคาหุ้นในพอร์ตต่ำที่สุด และจากนี้ไปมีแต่ราคาจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ … เท่ากับไปทำนายล่วงหน้าว่าหลังจากวันจดทะเบียนกองทุนแล้ว ราคาหุ้นในพอร์ตจะมีแต่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่มีวันลดต่ำลงกว่าวันจดทะเบียน แต่ในโลกของการลงทุนไม่มีใครรู้ว่าวันที่ราคาต่ำสุดนั้นคือวันไหน และที่สำคัญก็คือ ราคาหุ้นมันมีขึ้นๆ ลงๆ ได้เสมอ แต่ถ้าลงทุนยาวๆ ในกองทุนหุ้นที่ “ใช่” และมีความอดทนต่อ NAV ที่ผันผวนตามราคาหุ้นรายวันได้ เราก็มีโอกาสสูงที่จะได้รับผลตอบแทนเป้นกองเป็นกำในอนาคตระยะยาว . แล้วจะเลือกแบบไหนดี ————————— การจะซื้อที่ IPO หรือหลัง …

พลังเงินทำให้โลภ

ความโลภ ไม่เข้าใครออกใคร อย่าว่าแต่รายย่อยหรือเสี่ยใหญ่เลย ผู้ลงทุนสถาบันก็โลภได้ ใน Developed Market ผู้ลงทุนสถาบัน เป็นพลังใหญ่ที่สุดของ Supply และ Demand ในตลาดทุน เพราะมีสัดส่วนการซื้อขายมากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์หลักๆ ผู้ลงทุนสถาบันจึงมีอิทธิพลสูงต่อราคาหลักทรัพย์ เพราะมีจำนวนเงินหน้าตักมหาศาลให้ซื้อขายจนอาจกลายเป็นการทำราคาในตลาดฯ หรือใช้ข้อมูลวงในไปดักซื้อดักขายก่อนกองทุนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนหรือ Nominee ได้ง่ายๆ (ตลาดหุ้นนิวยอร์ค NYSE มีสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันซื้อขายกว่า 50% ของการซื้อขายในตลาดฯ ส่วนของ SET บ้านเรามีประมาณ 10%) ดูแค่พลังเงินของผู้ลงทุนสถาบันเฉพาะที่เป็นกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ สิ้นปี 2560 รวมกันก็ปาเข้าไป 6.84 ล้านล้านบาทแล้ว เท่ากับประมาณ 45% ของ GDP ประเทศ หรือ 39% ของ Market Cap ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ 52% …

ทำไมต้องสนใจเงินเฟ้อ

การวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณเป็นเรื่องระยะยาว ดังนั้น จึงต้องคิดเผื่อเรื่องเงินเฟ้อ เพราะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลง ยิ่งยาวนานยิ่งลดลงมาก ยิ่งเงินเฟ้อมากค่าของเงินก็จะลดลงรวดเร็ว ค่าของเงินที่ลดลงทำให้เราต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อสินค้าหรือบริการเดิมๆ เช่น เคยซื้อเสื้อ 1 ตัว ราคา 100 บาท แต่ถ้าเงินเฟ้อ 3% ปีหน้าจะต้องใช้เงิน 103 บาท เพื่อซื้อเสื้อตัวเดิม เงินแค่ 3 บาท ทำไมต้องกังวลขนาดนั้น ก็ลองคิดดูสิว่าถ้าของสิ่งนั้นไม่ใช่เสื้อ แต่เป็นอาหารที่ต้องกินทุกวัน วันละ 3 มื้อ เงินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นต่อปีจะเป็นเงินเท่าไร เมื่อเงินเฟ้อทำให้ข้าวของแพงขึ้นทุกปี เราจะต้องใช้เงินในอนาคต 20-30 ปีข้างหน้า วันละเท่าไร สมมุติว่าวันนี้เราอายุ 30 ปี กินอยู่วันละ 500 บาท ถ้าอัตราเงินเฟ้อเป็น 3% ต่อปี วันที่เราอายุ 60 ปี แล้วเราเกษียณ เราต้องมีเงินไว้ใช้วันละ 1,213 …