เศรษฐกิจและหุ้น จะรุ่งหรือร่วง

bblam04เมื่อวานนี้ ตัวเลข set ออกมาเป็นสีแดง หลายคนกำลังมองว่าเกิดอะไรขึ้น จะเกี่ยวกับเหตุแผ่นดินไหวหรือไม่ เพื่อเป็นการเพิ่มข้อมูลข่าวสารอีกช่องทางหนึ่ง ขอนำขอมูลจาก facebook คุณตู่ มาให้ทุกท่านอ่านเพื่อให้เงินงอกเงยกันนะครับ

เศรษฐกิจและหุ้น จะรุ่งหรือร่วง
——————————–
วรวรรณ ธาราภูมิ และทีมจัดการกองทุน บลจ.บัวหลวง
26 เมษายน 2558
แนวโน้มเศรษฐกิจโลก
———————–
• เศรษฐกิจโลกจะถูก Drive ด้วย 4 ปัจจัยหลัก เหมือนไฮโล คือ Low Low High High (2L+ 2H)
1) Low Inflation หรือ เงินเฟ้อต่ำ
2) Low Growth หรือ เศรษฐกิจโลกเติบโตต่ำ
3) High Unemployment หรือ อัตราว่างงานสูง และ
4) High Debt หรือ ภาระหนี้สูง
.
• ทั้ง 4 ปัจจัยหลักจะผลักดันให้เศรษฐกิจโลกยังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ต่อเนื่องจากปี 2557 ในระดับที่ค่อยเป็นค่อยไป (Modest) ไม่เท่ากัน (Uneven) และยังไม่เพียงพอที่จะเพิ่มการจ้างงานในโลกอย่างเห็นได้ชัด
.
• กลุ่ม Advanced Economy เช่น สหรัฐฯ (ปี 2558: GDP 3.1%) อังกฤษ (2.7%) EU (1.5%) และญี่ปุ่น (1.0%) น่าจะเป็นกลุ่มที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้นกว่าคาดจากการทำ QE
.
• กลุ่ม Emerging Economy จะได้รับแรงกดดันจาก 4 ปัจจัย Hi Lo + ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลด ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะแย่กว่า Advanced Economy คือจะติดลบ เช่น บราซิล (-1.0%) รัสเซีย (-3.8%) และจีนจะชะลอตัวต่อ (6.8%) ซึ่งขนาดเศรษฐกิจของกลุ่ม Emerging Economy คิดเป็น 70% ของขนาดเศรษฐกิจโลก ดังนั้น แม้ว่ากลุ่ม Advanced Economy จะดีขึ้น แต่พอมองในภาพรวมเศรษฐกิจโลกก็ยังคงโตแบบช้าๆ อยู่ดี
• GDP โลกในปี 2558 น่าจะอยู่ที่ 3.5% และ ปี 2559 น่าจะอยู่ที่ 3.8%
• ปัจจัยหลักที่น่าจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจโลกไปได้ : IMF มองว่าราคาน้ำมันที่ทรงตัวต่ำในระดับ 55 usd/barrel จะเป็นผลดีเพราะจะทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลดลงและจะมีผลไปผลักดันความต้องการสินค้าและบริการอื่นๆ ทำให้ Global Demand ฟื้นตัวขึ้นได้
——————————————————————
1. วิกฤตหนี้ยุโรป เศรษฐกิจอเมริกา จีน ญี่ปุ่น จะส่งผลอย่างไร
——————————————————————
การค้าระหว่างประเทศ
————————
การค้าระหว่างประเทศค่อนข้างได้รับผลกระทบ เนื่องจากออเดอร์สินค้าจากยุโรป ญี่ปุ่นและจีนแผ่วลงมาก นับตั้งแต่ประเทศเหล่านั้นประสบกับภาวะเศรษฐกิจ
สินค้าส่งออกของไทยหดตัวตลอดในเกือบทุกรายการตั้งแต่ มค (-3.5%) มาถึง กพ (-6.1%) นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังมาเลิกสิทธิ GSP กับสินค้าส่งออกหลักของเรา แต่คาดว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น หรือแย่น้อยลงจากการฟื้นตัวของสหรัฐฯ และอาจช่วยให้การส่งออกไทยพลิกจากแดนลบขึ้นมาเป็นบวกนิดๆ ที่ร้อยละ 0.8 ในปีนี้ แต่ก็อาจจะถูกซ้ำเติมจากเรื่องแรงงานทาส
.
ภาวะการลงทุน
—————-
ท่าทีของ FED ในการปรับขึ้นดอกเบี้ย รวมทั้งกรอบเวลาในการขึ้นดอกเบี้ย จะส่งผลต่อการลงทุนในตลาดตราสารหนี้
ในอดีตเคยมีเหตุการณ์ Taper Tantrum เกิดขึ้น (ปี 2556 ตอนที่ Ben Bernanke ประกาศว่าจะลดการทำ QE) ในตอนนั้น Bond Yield ของสหรัฐฯ เด้งขึ้นแรง ทำให้เกิดแรงเทขายในกลุ่มตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะในเอเชีย ส่งผลให้ค่าเงินเอเชียโดยเฉพาะในอาเซียน (IDR, THB, MYR, PHP) อ่อนค่าลงแรงในช่วงนั้น โดยรูเปียะห์ของอินโดลงไปกว่า 16% (บาทลงไป 8%)
หาก FED ขึ้นดอกเบี้ยก็อาจเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ไม่น่าจะแรงเท่าในปี 2556 เนื่องจาก FED ภายใต้การนำของ Jennet Yellen น่าจะค่อยๆ ทยอยขึ้นดอกเบี้ย และท่าทีน่าจะ Soft กว่า Bernanke
แต่ EU ญี่ปุ่น และจีน ยังเป็นกลุ่มที่ต้องผ่อนคลายต่อ โดย EU อัดเงินเข้าระบบ 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ญี่ปุ่นทำ QQE 80 ล้านล้านเยนต่อปี และจีนออกหลายมาตรการมาผ่อนคลายเพิ่มเติม+ทำ Shanghai-Hong Kong Connect
การผ่อนคลายเพิ่มเติมเหล่านี้น่าจะเป็นผลบวกต่อตลาดหุ้นในภาพรวม จะเห็นได้ว่าดัชนีหุ้นยุโรป ญี่ปุ่น และ จีน ( A-share H-share) ทำ New-high ตลอดในช่วงที่ผ่านมา
..
2. AEC และผลกระทบไทย
—————————–
ขนาดตลาดสินค้าและบริการที่ใหญ่ขึ้น
——————————————
นักธุรกิจไทยจะมีตลาดการค้าที่ใหญ่ขึ้นเพราะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านคน อินโดนีเซีย 246.9 ล้านคน ฟิลิปปินส์ 96.7 ล้านคน เวียดนาม 88.8 ล้านคน ไทย 66.7 ล้านคน ฯลฯ เป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้า เพราะขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นจะเอื้อให้มีการผลิตมากขึ้นแต่ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง (Economies of Scale) ทั้งนี้ แต่ละประเทศก็ต้องออกแรงขยันหาตลาดและมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการหาลูกค้าเช่นกัน
ความได้เปรียบด้านยุทธศาสตร์
———————————
ไทยจะกลายมาเป็นเป้าหมายในการดึงดูดการลงทุน/เงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น เพราะต่อไปนี้การขยายการลงทุนจากต่างประเทศมาไทยจะทำได้ง่ายขึ้น กฎเกณฑ์ด้านการลงทุนของไทยก็เปิดมากกว่าหลายประเทศในภูมิภาค เนื่องจากไทยเป็น Gateway/Springboard ที่จะเข้าสู่กลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้
โอกาสในการพัฒนาสินค้าและบริการ
—————————————-
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะทำให้นักธุรกิจไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจ/การค้า ต้องบพัฒนาศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมให้ดีขึ้นเพื่อการรองรับการแข่งขัน จึงจะนำมาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่พร้อมจะออกไปแข่ง รวมทั้งจะได้เรียนรู้เทคนิคด้านต่างๆ ของประเทศในกลุ่มนี้มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเรา ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การตลาด การขนส่งและโลจิสติกส์ การจัดการ การเจรจาต่อรอง การเงิน การท่องเที่ยว การเดินอากาศ และอื่นๆ
ตลาดแรงงาน
————–
เมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็จะมีการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือใน 7 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ วิศวกร แพทย์ พยาบาล นักบัญชี นักสำรวจ ทันตแพทย์ และสถาปนิก ซึ่งเป็นดาบสองคม เพราะเมื่อแรงงานฝีมือไทยออกไปรับงานนอกประเทศได้ แรงงานฝีมือจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียนก็สามารถเข้ามาทำงานในไทยได้เช่นกัน ถ้าทักษะแรงงานไทยสู้เพื่อนบ้านเราไม่ได้ (เช่น ทักษะด้านภาษา วิชาชีพ) แรงงานจากสิงคโปร์หรือมาเลเซียก็จะเข้ามาแย่งตำแหน่งงานดีๆ ในองค์กรไทย
..
3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2558 และผลกระทบหุ้นไทย
———————————————————-
.
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2558
——————————–
ถ้าประเมินแนวโน้มจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยประกาศออกมาจะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตอย่างช้าๆ เครื่องยนต์ขับเคลื่อนยังไม่ได้เร่งตัวจนเต็มสูบ
- การใช้จ่ายภาคเอกชน ทรงตัวเนื่องจากครัวเรือนและธุรกิจยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย
- การใช้จ่ายของภาครัฐ ใกล้เคียงกับเดือนก่อนและยังคงต่ำกว่าเป้าหมาย
- การส่งออกสินค้า ได้รับผลกระทบจากจีนและอาเซียนที่ชะลอตัว การแซงชั่นของ EU การค้าแรงงานทาสที่กำลังโดนสหรัฐฯ กดดัน อาจส่งผลให้ทั้งปีโตไม่ถึง 1% หรือไม่โตเลย
- ภาคการท่องเที่ยว ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง
.
เมื่อ Growth Engine หลัก (การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน+ส่งออก) ยังคงชะลอตัว แนวโน้มของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ก็ต้องต้องฝากความหวังไว้กับรัฐบาลว่าจะสามารถเร่งดำเนินการแผนงานภาครัฐต่างๆ เช่น แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แผนการส่งเสริมการลงทุน แผนการบริหารจัดการน้ำ ได้มากน้อยขนาดไหน เราคาดหวังกับการเบิกจ่ายของภาครัฐค่อนข้างมากเนื่องจากเป็น Growth Engine สุดท้ายที่เราเหลืออยู่ หากรัฐบาลสามารถเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ 87% (ปกติมักจะเบิกจ่ายได้ 68-75 % ของงบประมาณ) ก็จะเป็น Jump Start ให้กับ Growth Engine ตัวอื่นๆ เช่นการลงทุนภาคเอกชน การจ้างงาน เพิ่มขึ้นได้
.
GDP Growth ของไทย …
—————————
ไตรมาส 1/2558 3.0 % (YoY)
ไตรมาส 2/2558 4.0 % (YoY)
ไตรมาส 3 และ 4/2558 3.7% (YoY)
ทำให้ทั้งปี 2558 ไทยน่าจะโตได้ที่ 3.5-3.8 % (เกาะเส้น Average ของ GDP)
.
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2559
——————————–
GDP ไทยน่าจะยืนได้ราวๆ 3.8-3.9% แต่โจทย์ของปี 2559 จะต่างออกไป เพราะอาจมีปัจจัยเรื่องเลือกตั้งใหม่ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเข้ามาด้วย แต่ US น่าจะฟื้นตัวชัดเจนและส่งผลดีให้การส่งออกของไทย
.
ทิศทางอัตราดอกเบี้ย
———————–
จากท่าทีของ ธปท.ที่ลดดอกเบี้ยไป 25 bps เมื่อเดือน มี.ค. ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะลดดอกเบี้ยลงได้อีก ถ้าเศรษฐกิจในไตรมาส 2/2558 แย่กว่าที่คาด
หากเศรษฐกิจไตรมาส 2/2558 ต่ำกว่า 4% อาจจะเห็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงอีก 0.25% มาอยู่ที่ 1.50 % ในการประชุม กนง. ครั้งต่อไปในวันที่ 29 เมย 2558) จากปัจจุบันที่เป็น 1.75%
ทั้งนี้ รมว. คลังได้ประกาศระหว่างการแถลงผลการทำงานของรัฐบาลรอบ 6 เดือนแล้วว่า ธปท.น่าจะลดดอกเบี้ยได้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
.
4. แนวโน้มตลาดหุ้นไทย ปัจจัยต่างๆ ที่คาดว่าจะกระทบ ทั้งบวกและลบ
————————————————————————-
.
คาดว่าจะ side ways เพราะการที่ดัชนีตลาดฯ จะขึ้น แล้วอยู่ได้นาน ยังถูกจำกัดด้วยภาพ Macro ของเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวและต่ำกว่าคาด จึงน่าจะยังได้เห็น Downgrade Episode เป็น Series อยู่ เช่น ปรับ Export growth ลงจาก 4% เหลือ 1% ….. ที่ผ่านมา นักลงทุน มี Expectation ที่สูงไปในภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การที่ Index จะปรับตัวลงมามากมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก เพราะสภาพคล่องในตลาดที่มีมากพอ
.
ปัจจัยบวก
———–
- นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย เช่น QE และดอกเบี้ยต่ำในญี่ปุ่น ECB / การชะลอขึ้นอัตราดอก เบี้ยของ FED เพื่อรอความชัดเจนของเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว จะทำให้มีสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกสูงจนหนุนให้ไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อ Sentiment ของตลาดหุ้นไทย
- สัญญาณการลงทุนก่อสร้างของภาครัฐมีต่อเนื่อง เช่น โครงการรถไฟฟ้าน้ำเงิน-เขียว การก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสุวรรณภูมิเฟส2 โครงการรถไฟทางคู่ เป็นสัญญาณขับเคลื่อนการลงทุนจากรัฐที่จะทำให้เอกชนมั่นใจในการลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นตามมา
- สภาพคล่องสูงในตลาดหุ้นไทย แม้ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวและมีการเมืองมาเกี่ยวข้อง แต่ SET ยังคงปรับขึ้นต่อเนื่อง (ฝรั่งขายสุทธิ 3 ปีตั้งแต่ปี 2556 – ปัจจุบัน 2.3 แสนMB แต่ SET ขึ้นมา 13% จาก 1,392 ->1,570 จุด โดยสถาบันไทยผู้ซื้อสุทธิ 1.8 แสน MB)
- ไทยมีปัจจัยพื้นฐานดี แม้ว่า Growth จะไม่ดี แต่มี Financial stability ที่ดี ทั้งด้านโครงสร้างระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีเงินทุนมากพอ และไทยยังมีระดับ Foreign reserve ที่ 40% ของ GDP มีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2% กับมีระดับหนี้สาธารณะของรัฐบาลที่ 46% of GDP
.
ปัจจัยลบ
———-
- เศรษฐกิจต่างประเทศชะลอตัวลงมากกว่าที่คาด
- US ขึ้นอัตราดอกเบี้ย เร็วกว่าคาด
- เศรษฐกิจไทยแย่กว่าคาด จน Downgrade GDP ต่อเนื่อง ส่งผลต่อการลด EPS ในตลาดหุ้นลง
- เลือกตั้งช้ากว่าแผน (แต่การเมืองเป็นเรื่อง timing ของการลงทุนมากกว่า ไม่ใช่ปัจจัยหลัก เพราะสุดท้ายสิ่งสำคัญคือความสามารถในการกำไรได้อย่างต่อเนื่องหรือดีกว่าที่คาด)
.
5. ตลาดหุ้นไทยเทียบกับตลาดหุ้นโลก และตลาดหุ้นอื่นๆ
———————————————————–
.
As of 21 April 2015 เมื่อเทียบกัน ตลาดหุ้นไทยยังน่าสนใจลงทุน เพราะมี Earnings growth 32% ในปี 2558F (ฐานต่ำในปี 2557) และมี PE 15 เท่า ต่ำกว่า TIPs เล็กน้อย แต่ on par กับประเทศในเอเชีย
ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความน่าสนใจลงทุนในระยะยาว สอดคล้องกับทั้งภูมิภาคเอเชียที่มีโครง สร้างเศรษฐกิจและสังคมที่ดึงดูดการลงทุนอย่างมาก เช่น การมีขนาดประชากรกว่า 4 พันล้านคน โดยมีสัดส่วนของชนชั้นกลางมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยยังเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคจึงได้ประโยชน์จากการเป็น Strategic Location ที่ดี
Fund flow ยังไหลเข้าทั้งภูมิภาคต่อเนื่องยกเว้นไทย เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศยังให้ความสำคัญกับภาพ Macro แต่ Fund Flow ก็ไม่ค่อยมีนัยต่อตลาดไทยมากแล้ว
.
7. นักลงทุนต่างประเทศ ยังสนใจเราหรือไม่ เพราะอะไร และซื้ออะไร?
———————————————————————-
ระดับดัชนีแถวนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังไม่สนใจมากเพราะยังให้น้ำหนักกับภาพ Macro มากกว่า ทำให้ Flow ไหลไป North Asia มากกว่า South Asia
ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ออกมาแย่กว่าที่คาด พอเริ่มกลับมาซื้อ ผลประกอบการธนาคารก็ออกมาต่ำกว่าที่คาด โดยเฉพาะ NPL ที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ segment โดยเฉพาะ ภาค SME
ปกติพอ NPL ขึ้นมาแล้วต้องใช้เวลานานกว่าจะลง (ขณะที่ Peak NPL ของ household ได้ผ่านไปแล้ว) อย่างไรก็ตาม หุ้นไทยยังอยู่ใน radar และ Selective รายตัวมากขึ้น เห็นจากการยังมีการรายงานการถือครองหุ้นของกองทุนฝรั่งที่เข้ามาซื้อเกิน 5% ของทุนจดทะเบียนบริษัท อยู่ในระยะๆ
บจ.ในไทยส่วนใหญ่ยังคงฟื้นตัวและมีศักยภาพในการพัฒนาทั้งสินค้าและบริการให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และมีนวัตกรรมรวมถึงเปิดเผยข้อมูลในการลงทุนที่มากพอ
ไทยมี Strategic location ที่ดี ทำให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าการลงทุนของภูมิภาค (เม็ด
เงิน FDI) รวมถึงการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้างอย่าง ลาว กัมพูชา และพม่า ซึ่งมี GDP growth 7%-8% ทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการเป็นประเทศคู่ค้า (มูลค่าการค้ากับ CLM ปี 2557 เป็น 18,000 ล้านบาท โดยไทยส่งออก 12,800 ล้านบาท) ทำให้ บจ.ไทยสามารถคว้าความได้เปรียบนี้ได้
.
8. หุ้นไทยยังเป็นช่องทางการลงทุนที่ดีหรือไม่
———————————————
ยังคงเป็นช่องทางหลักในการช่วยสร้าง Wealth ให้กับผู้ลงทุน เนื่องจากผลประกอบการของ บจ.ยังโต 2 หลัก และจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ 4%- 6% และตลาดหุ้นสะท้อนภาวะเศรษฐกิจได้ดี ดังนั้น หากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จะมีแรงซื้อจากนักลงทุนเข้ามาในตลาดหุ้น
เมื่อเทียบกัน หุ้นยังให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า จากข้อมูลย้อนหลังของ SET เฉลี่ย 10 ปี หุ้นให้
ผลตอบแทนสูงถึง 15% เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่นๆ
.
9. ตอนนี้หุ้นแพงไปหรือไม่
—————————
มองดัชนีรวมๆ ก็ไม่ถูก ไม่แพง แต่หากมองหุ้นรายตัวเช่นกลุ่ม Renewable energy น่าจะ Overvalue ไปแล้ว อาจเห็นการ Take profit บ้าง
.
10. จะสามารถเข้าซื้อหุ้นได้เมื่อไร ดูได้จากอะไร
—————————————————
สัญญาณเศรษฐกิจที่แสดงการฟื้นตัว เช่น ยอดส่งออก / PMI /การเบิกจ่ายงบของรัฐ / VAT/
ยอดขายปูนซีเมนต์ ฯลฯ
Fund flow ของนักลงทุนต่างชาติ หรือสถาบัน ที่เข้าอย่างต่อเนื่อง
การปรับขึ้น Earnings ของบริษัทจดทะเบียน
.
11. กลุ่มเด่น กลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง
————————————
กลุ่มเด่น : Construction material, Tourism, Food, Insurance
กลุ่มหลีกเลี่ยง : Agriculture (ราคา commodity ลดลง)
.
12. ควรเลือกหุ้นประเภทไหน? ปันผล เติบโต มั่นคง เก็งกำไร-หวือหวา? ทำไม
————————————————————————————
- ขึ้นกับว่าเราเป็นนักลงทุนแบบไหน ไม่มีหุ้นที่ One size fits all ถ้าเราลงทุนได้ยาว ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินระหว่างนั้น การเลือกหุ้น Growth Stock อาจจะเหมาะกว่า บางคนลงทุนยาวได้ แต่อยากเห็นเงินเข้ามาในบัญชีบ้าง ก็ไปเลือกหุ้นปันผล
- แต่ไม่ว่าจะเลือกหุ้น Growth / Dividend ก็ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐาน เพราะถ้าปัจจัยพื้นฐานไม่ดี การที่ตลาดหุ้นหรือราคาหุ้นมีความผันผวนในช่วงสั้นจะทำให้เราตัดสินใจซื้อขายบน Sentiment หรือ Emotion ไม่ใช่ Fundamental ซึ่งทำให้เสียโอกาสดีๆ ไป นอกจากนั้น การคาดการณ์ตลาดหุ้นเป็นเรื่องยากและไม่คุ้มที่จะเดา แต่การคาดการณ์ผลประกอบ การอยู่ในขอบข่ายที่ทำได้
- สำหรับกองทุน เราเลือกหุ้นที่มี Earnings growth สม่ำเสมอและต่อเนื่อง (Quality earnings) Management team มีประสบการณ์ยาวนาน น่าเชื่อถือ และมีธรรมาภิบาล รวมถึงมี Roadmap

ขอขอบพระคุณพี่ตู่ วรวรรณ ธาราภูมิเป็นอย่างสูงครับ ที่กรุณาเผยแพร่ข้อมูลนี้

Comments

comments