แนวคิดลงทุนแบบหมอ
วันนี้ได้มีโอกาสอ่านบทความที่น่าสนใจของ msn.com เป็นว่ามีประโยชน์มาก เลยขอนำมาให้ทุกท่านได้อ่านครับ
หมอเชิดพงศ์ หังสสุต ลงทุนเพื่อชีวิต (กรุงเทพธุรกิจ)
วางเป้าหมายระยะยาว เช่น เงินออมสำหรับเกษียณ ต้องวางแผนว่า หลังเกษียณ 20 ปี เราต้องมีเงินออมเท่าไหร่และจะนำเงินไปลงทุนอย่างไร
“นายแพทย์เชิดพงศ์ หังสสุต” หนึ่งในนายแพทย์ผู้เปี่ยมด้วยจิตอาสาและประสบการณ์เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท้า ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักทุกวันและพาเราเดินไปสู่จุดหมายที่นั่นที่นี่ หลังจากจบคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ เขาทิ้งเมืองกรุงมุ่งหน้าทำงานเป็นแพทย์ในต่างจังหวัดหลายปี ศึกษาต่อด้านสุขภาพเท้าและกายอุปกรณ์ ที่เมืองบอสตันและซีแอตเติล ในสหรัฐอเมริกา และสั่งสมประสบการณ์จากโรงพยาบาลชั้นนำหลายแห่งในกรุงเทพฯ ปัจจุบันทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลกรุงเทพและได้มาช่วยพัฒนาเปิด คลินิกสุขภาพเท้าเบาหวาน ที่โรงพยาบาลสิรินธร ย่านลาดกระบัง“ใน ชีวิตการทำงานรักษาพยาบาลคนไข้ เราได้เห็นความจริงของชีวิตที่หลีกหนีไม่พ้นการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกคนมีเวลาอยู่บนโลกใบนี้ 26,000 กว่าวัน ใช้ไปเท่าไหร่แล้ว ก่อนจะลาจากโลกนี้ไป เราน่าจะได้สร้างประโยชน์แก่สังคม ช่วยเหลือคนอื่นเท่าที่เราจะทำได้ เป็นการเติมเต็มคำตอบของการมีชีวิตให้มีคุณค่า หลักในการทำงานของผม ทำอย่างเต็มที่ให้ดีที่สุด ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างไม่ได้มาโดยง่าย ดังนั้นอุปสรรคปัญหาเป็นความท้าทายให้เราใช้สติและปัญญาคิดวิเคราะห์ และแก้ไขพัฒนา“นายแพทย์เชิดพงศ์พูดถึงแผนบริหารการเงินส่วนตัว ว่าเขาเติบโตมาในครอบครัวอบอุ่น ในวัยเด็กที่พักผ่อนเล่นจะเป็นห้องสมุด หาหนังสือมาอ่าน เพราะผู้เป็นแม่เป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนพ่อทำงานธนาคาร ท่านให้แนวคิดลูกๆ ในเรื่องของความซื่อสัตย์ ประหยัดอดออม และพอเพียง วิถีไทยสมัยก่อนที่ซึมซับมาถึงทุกวันนี้ ผม วางแผนการเงินโดยจัดแบ่ง 60% เป็นค่าใช้จ่ายประจำเดือน, 10% สำหรับเงินออมระยะยาว นำไปลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อย, 10 % เก็บออมยามเกษียณ, 10% สำหรับการผ่อนคลาย เดินทางท่องเที่ยว และอื่นๆ อีก 10 %
“คนเราชอบอะไรที่ท้าทาย และมีแรงจูงใจ จึงควรตั้งเป้าหมายของการออมเงินว่าคืออะไร เป้าหมายมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป้าหมายระยะสั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เช่น ถ้าอยากต่อเติมบ้าน เราก็ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายว่าต้องใช้เงินออมเท่าไหร่ ส่วนเป้าหมายระยะยาว เช่น เงินออมสำหรับเกษียณ ต้องใช้การวางแผนว่า ระยะยาวหลังเกษียณ 20 ปี จำนวนเงินออมที่เราต้องการสำหรับการอยู่อย่างสะดวกสบายนั้นเป็นเท่าไหร่ และเราต้องศึกษาต่อว่าเราจะเอาเงินออมไปลงทุนอะไรเพื่อจะได้บรรลุวัตถุ ประสงค์ที่เราตั้งไว้ การกำหนดเวลาควรกำหนดระยะเวลาที่เป็นไปได้ แจกแจงรายละเอียดออกมาว่า “เป้าหมาย” นั้น เราต้องออมเงินสัปดาห์ละเท่าไหร่ หรือเดือนละเท่าไหร่ ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงไปได้มากเท่าไหร่ก็จะมีเงินเหลือออมมากขึ้นเท่านั้น ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเท่าที่จำเป็นจริงๆ”
เขาบอกว่า ด้วยภารกิจประจำวันที่ค่อนข้างมาก จึงไม่เหมาะที่จะลงทุนในหุ้น ซึ่งต้องมีเวลาติดตามและศึกษา การลงทุนของเขาส่วนใหญ่จะมีความเสี่ยงน้อย เช่น การทำประกันสุขภาพแบบออมทรัพย์ระยะยาว การลงทุนผ่านกองทุนรวม และ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF (Long Term Equity Fund) หรือ เป็นกองทุนรวมแบบพิเศษที่ให้สิทธิผู้ลงทุนนำเงินลงทุนในแต่ละปีมาใช้ลดหย่อน ภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ในแต่ละปี แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมกว่า 20 บริษัทให้เราพิจารณาดูในประสบการณ์ ผลงานและความน่าเชื่อถือในการบริหารกองทุน
นายแพทย์เชิดพงศ์ยังให้ข้อ คิดด้านการเงินที่อยากแบ่งปันกับคนทั่วไปว่า สำหรับประชากรที่สูงวัยมีโอกาสจะต้องอยู่โดยลำพังโดยไม่มีสมาชิกในครอบครัว อยู่ดูแล จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในช่วงปี 2553 – 2558 เพศชายมีอายุขัยเฉลี่ย 71.2 ปี และเพศหญิงมีอายุขัยเฉลี่ย 77.6 ปี และอีกเพียง 10 ปี ข้างหน้าในช่วง 2563-2568 เพศชายจะมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 74.7 ปี และเพศหญิงมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 80.3 ปี ดังนั้น เมื่อระยะเวลาผ่านไป ประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิงมีแนวโน้มอายุขัยเฉลี่ยยาวนานขึ้นและมีชีวิตยืน ยาวหลังเกษียณไม่ต่ำกว่า 20 ปี
ดังนั้น ในช่วงเวลาหลังเกษียณเป็นช่วงที่ไม่มีรายได้แต่ยังคงมีรายจ่ายที่จะใช้ในการ ดำรงชีวิตอยู่ การวางแผนการเงินส่วนบุคคลจึงสำคัญยิ่ง และจะช่วยให้เราจะเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับช่วงชีวิตหลังเกษียณอีก 20 ปี เขา ยังบอกอีกว่าในด้านเงินทองทรัพย์สินคงไม่ต้องดิ้นรนและพอเพียงแล้วกับการ ดำรงชีวิต สิ่งที่เขาอยากลงทุนในชีวิตที่เหลือ คือ การมีโอกาสได้ทำประโยชน์ต่อบ้านเมืองนี้ที่ให้เราเติบโต ได้รับการศึกษาและใช้ชีวิตมา โครงการที่ได้เริ่มแล้วคือ บริการรถเคลื่อนที่ “วันรักเท้าสัญจร” เป็นความร่วมมือจากผลงานวิจัยนวัตกรรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับโรงพยาบาลสิรินธร “ผมอยากให้คนไทยทุกคนหมั่นดูแลสุขภาพเท้า ตรวจเช็คทุกปีและดูแลสุขอนามัยอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากมีปัญหาสุขภาพเท้ามักจะสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน การวางแผนการเงินที่ดีช่วยสร้างความมั่นคงให้ชีวิตเรา และช่วยให้เรามีกำลังเผื่อแผ่สังคม”
สำหรับคนรุ่นใหม่ก็ควร รู้คุณค่าของเงิน ไม่ยึดถือเงินเป็นพระเจ้า เรียนรู้คุณค่าแท้จริงของการมีชีวิต และการได้ใช้ความรู้ความสามารถของเราช่วยเหลือผู้อื่นได้เป็นสิ่งที่ยิ่ง ใหญ่ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยทีน วัยนักศึกษาหรือทำงานแล้ว ทุกคนก็สามารถทำได้ แล้วสังคมไทยจะน่าอยู่
ถือว่าเป็นข้อคิดที่ดีของหลายๆคนที่มีแผนที่จะทำให้เงินงอกเงยนะครับ เพราะไม่ว่าจะสาขาอาชีพไหน หากมีการวางแผนทางการเงินที่ดี ก็สามารถทำให้เิงินงอกเงยได้เช่นเดียวกันครับ
ที่มา http://money.th.msn.com/Stock/stock.aspx?cp-documentid=253306904